ชื่อร้านค้า พระเครื่องภูธนรินทร ฯ พระเครื่องสะท้านแผ่นดินและเพิ่อการศึกษา

พระเครื่่องสายวัดบวรนิเวศวิหาร (พระกริ่งปวเรศ) พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ปี 2397 (เชิญรับชม) WWW.PUTANARINTON.99WAT.COM ครับ

พระกริ่งปวเรศ (พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข) ปี 2397 เนื้อสำริดโชค ครับ สมบัติที่ล้ำค่าจาก เจ้าคุณปู่เมื่อ 40 กว่าปี

ที่ผ่านมา เมื่อครั่งท่ี่เป็นนายทหารม้า (กองพันสัตว์ต่าง) "พท.แผ้ว  ปรุงปรีชา" ท่ี่ จังหวัดนครปฐม ครับ  

WWW.PUTANARINTON.99WAT.COM

128 พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.ที่สร้าง 2394 - 2434 ต่างกันอย่างไร

128 พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.ที่สร้าง 2394 - 2434 ต่างกันอย่างไร

 
กระทู้นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  เพียงพิมพ์เดียวที่มีการสร้างหลายวาระ คือ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2494 ที่พบสร้างครั้งแรกจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2434 มีความแตกต่างหรือเหมือนกันเช่นไร

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2394  พระกริ่งที่พบทุกองค์ผ่านการล้างผิวมาทั้งหมด  ทำให้อายุของวรรณะสีผิวความเก่า 160 ปี ขาดหายไป

 

 รูปพระกริ่งพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขนั้นจะละม้ายคล้ายคลึงกัน  ที่ต่างคือ รุ่น ปี พ.ศ.2394 เป็น รุ่นแรกของพิมพ์นี้  จะพบเห็นเมล็ดงาเม็ดใหญ่ปลายชี้ฟ้า เป็นโค๊ตบ่งบอกถึงวาระของปีที่สร้าง ก้นพระกริ่งตัน  บรรจุเม็ดกริ่งด้วยการเจาะฐานบัวด้านบ้าง  เทคนิคการตบแต่งยังสู้พระกริ่งปวเรศที่สร้างในวาระ พ.ศ.2411 ไม่ได้

---พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2394 มีความแรง 32.5 เท่าของพระสมเด็จ 4 เหลี่ยมชิ้นฟักแบบทั่วๆไป ที่อธิฐานจิต โดยสมเด็จโต วัดระฆัง



พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2397  พระกริ่งที่พบทุกองค์ผ่านการล้างผิวมาไม่มากนัก  ทำให้อายุของวรรณะสีผิวความเก่า 157 ปีไม่สมบูรณ์
พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2397 ลักษณะแบบที่ 1 

 
   

เมล็ดงาของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขจะมีลักษณะปลายชี้ลงพื้น  ลักษณะการตอกโค๊ตจะตอกเฉียงเข้าไปในเนื้อของพระกริ่ง  เส้นสายริ่วรอยความคมชัดต่างๆจะมองเห็นได้ชัดเจนกว่าพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2411  ในวาระ พ.ศ.2397 องค์นี้ยังใช้วิธีเทหล่อก้นตันและเจาะสะโพกด้านข้างเพื่อบรรจุกริ่ง

พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2397 ลักษณะแบบที่ 2


การเจาะบรรจุเม็ดกริ่งที่บริเวณก้นฐานด้านใต้  
 


พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2411 พระกริ่งที่พบแทบจะทุกองค์มีฝีมือการตบแต่งปราณีตงดงามมาก  โดยฝีมือของช่างสิบหมู่ที่พัฒนาฝีมือการตบแต่งขัดเกลา

พระกริ่งปวเรศสององค์นี้บรรจุอยู่ด้านหลังของพระเนื้อผง  จัดเป็นพระพิมพ์พิเศษพิมพ์หนึ่งที่ได้ฝังพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2411



พระกริ่งปวเรศองค์นี้บรรจุในบาตรน้ำมนต์ฯ  เป็นพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2411 

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2434 พระกริ่งที่พบแทบจะทุกองค์มีฝีมือการตบแต่งปราณีตงดงามเหมือนกับ สร้างวาระ พ.ศ.2411  เนื้อมวลสารโลหะส่วนผสมและการกลับดำใกล้เคียงกับ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขที่สร้างวาระ 2411 ไม่สามารถจำแนกด้วยตานอกได้ว่าสองวาระนี้เป็นการสร้างใน พ.ศ.ใด  ยกเว้นดูด้วยตาในเท่านั้น



 


พระดีเหล่านี้ผู้เขียนได้อธิษฐานไว้ขอเป็นผู้รวบรวมเพื่อเป็นทางผ่านให้ กับเจ้าของเดิม  มีวันหนึ่งขณะที่ร้อยเปลี่ยนสายสร้อยประคำเหล็กไหลที่ใช้ร้อยใหม่  จิตคิดขึ้นมาว่า  วัตถุมงคลชั้นสูงเหล่านี้มีพุทธานุภาพไร้ขีดจำกัด(พลังเดิมๆเมื่อ พ.ศ.2382 ถึงปัจจุบัน)  จะตั้งราคาอย่างไรจึงจะเหมาะสมทั้งผู้ที่มีทรัพย์มากและมีงบน้อยจะทำอย่าง ไร  ฉุดคิดขึ้นมา...ได้ขอพระเบื้องบน...ขอได้เมตตาสงเคราะห์แนะนำว่าควรตั้งราคา บูชาเท่าไรดี?  ผู้เขียนได้ข้อสรุปเรื่องราคาเมื่อนำมาพิจารณาราคาวัตถุมงคลแต่ละชนิดแต่ละ อย่างล้วนแต่มีความสัมพันธิ์กันดีและราคาที่ตั้งสมเหตุผล ทุกประการ  

 

2. พระกริ่งปวเรศ ทองคำ รุ่น สมบูรณ์พูนสุข

 
พระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ รุ่นสมบูรณ์พูนสุข ต้องแบบนี้ถึงจะแท้และเก่าจริง


- เนื้อทองคำนั้น  มีโลหะธาตุที่เน้นทองคำ  ทองคำเป็นโลหะธาตุที่มีราคาสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายเพราะเป็นโลหะที่คนทั่วโลกยอมรับและแลกเป็นเงินตราได้
- ทองคำ  มีมูลค่าดั่งทองคำที่กำหนดในราคาตลาดโลกว่าด้วยทองคำ  แต่ไม่ใช่การกำหนดราคาโดยตลาดวัตถุมงคล 
- โลหะธาตุระหว่างเนื้อทองคำกับเนื้อนวโลหะครบสูตร  นำมาสร้างเป็นพระกริ่งปวเรศ คุณค่าของโลหะที่ผสมโบราณว่าไว้ นวโลหะเป็นโลหะธาตุมีฤทธิ์ในตัว  มีความพิเศษกว่าเนื้อทองคำ  ซึ่งไม่ใช่วัดด้วยมูลค่าความนิยมของทองคำที่ซื้อขายกันในท้องตลาด
- เนื้อนวโลหะครบสูตรมีส่วนผสมของทองคำ ครูบาอาจารย์ท่านกล่าว "ทองคำเป็นวัตถุที่ดูดซับพลังพุทธานุภาพดีที่สุด มีเพียบเท่าเล็บแมวข่วนใช้ได้" 


 

เนื่องจากมีพระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ เก๊ ปลอม ในตลาดมาก  ผู้เขียนจึงได้แนะนำให้ดูลักษณะ วรรณสีผิว ความเก่าของพระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ  พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ซึ่งอดีตเป็นเคยเป็นสมบัติของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ  ญาณวรเถร) และตกทอดมาสู่น้องสาวของท่านคือ คุณหญิง แม้น  สุนทรเทพกิจจารักษ์ และภายหลังสืบทอดมาถึงผู้ครอบครองคนปัจจุบัน  ดังรูปที่แสดง  ขยายดูครับแล้วจะเห็นว่าของแท้อายุร้อยกว่าปีต้องแบบนี้

97. พระกริ่งปวเรศ แบ่งออกเป็น 6 ยุค

 
หากจะกล่าวถึง พระกริ่งปวเรศ  อีกทั้งรวมไปถึงพระเครื่องต่างๆที่สร้างโดยกลุ่มคนของสายวัง(วังหลวง วังหลัง วังหน้า)  ประกอบด้วยยุคสมัยของผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ  ทั้งผู้สร้าง  และผู้อธิฐานจิต  จากการพบเห็นและสัมผัสองค์พระเครื่องมากมาย  กล่าวโดยภาพรวมแบ่งออกเป็น 6 ยุค ดังต่อไปนี้

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องสายวัง ยุคที่ 1
--- เริ่มตั้งแต่  สมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2382 ถึง พ.ศ.2394
ในสมัยของ
--- รัชกาลที่ 3

--- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องสายวัง ยุคที่ 2
--- เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2394 ถึง พ.ศ.2408
ในสมัยของ
--- รัชกาลที่ 4
--- พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จฯปวเรศ), ตำแหน่ง วังหน้า
--- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องสายวัง ยุคที่ 3
--- เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2408 ถึง พ.ศ.2411
ในสมัยของ
--- รัชกาลที่ 4
--- ตำแหน่ง วังหน้า ว่างเว้น
--- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องสายวัง ยุคที่ 4
--- เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.24011 ถึง พ.ศ.2415
ในสมัยของ
--- รัชกาลที่ 5
--- กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย
--- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องสายวัง ยุคที่ 5
--- เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.24015 ถึง พ.ศ.2428
ในสมัยของ
--- รัชกาลที่ 5
--- กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องสายวัง ยุคที่ 6
--- เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2428 ถึง พ.ศ.2435 
ในสมัยของ
--- รัชกาลที่ 5
--- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  เนื่องจากไม่มีตำแหน่งวังหน้า  ผู้ที่มีอาวุโสของพระญาติวังหน้า จึงได้มีบทบาทสำคัญยุคสุดท้ายของพระกริ่งวังหน้าในยุคที่ 5




หมายเหตุ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระมหาอุปราช แต่เรียกกันเป็นสามัญว่าวังหน้า เป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้น ซึ่งมีความสำคัญรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ และมีฐานะเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชสมบัติพระองค์ต่อไป 


ข้อเท็จจริง

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  
--- ในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร


--- เมื่อปี พ.ศ. 2416 พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ทรงได้รับการโปรดเกล้า ฯ เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์



ข้อสังเกต  
--- พระนาม(ชื่อ)เดิมใช้ในปี พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2416 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์  
--- พระนาม(ชื่อ)เปลี่ยนใหม่ในปี พ.ศ. 2416  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์  หากใครเคยศึกษาประวัติการสร้างพระกริ่งที่มีเซียนตำราเขียนไว้ในก่อนหน้านี้ มีตั้งแต่ พ.ศ.2404, 2409, 2411, 2416, 2426 และ 2434 ว่าเป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สร้างย่อมผิดไปจากข้อเท็จจริง  อันที่จริงแล้วพระกริ่งของวังหน้าที่เรียกตามชื่อย่อของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งครองตำแหน่งวังหน้าตามพระนาม(ชื่อ)ย่อของพระองค์ท่าน "ปวเรศ"  ซึ่งหมายถึง พระกริ่งวังหน้า เริ่มสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ.2394 สืบต่อกันมา 4 ยุคสมัยด้วยกัน
 
  
ความจริงที่แตกต่าง  พระกริ่งปวเรศที่ผู้เขียนพบและสัมผัสจากผู้สืบทอดสายวังหน้าโดยตรง  พบพระกริ่งปวเรศที่ได้จารึก "ปวเรศ"สร้างอธิฐานจิตในวาระปี พ.ศ. 2394 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขึ้นครองราชย์สมบัติคู่กับ รัชกาลที่ 4 ที่เรียกสั้นๆว่า "ปวเรศ" เป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

90. คำว่า ปวเรศ มีที่มาที่ไปอย่างไร? หมายถึงอะไร?

 
 
ขอเขียนสรุปสั้นๆ ได้ใจความดังต่อไปนี้
  
การเขียนอักขระขอมเป็นการประหยัดพื้นที่เพื่อลงยันต์  อักขระขอมถือว่าเป็นอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์ การเขียนอักขระลงบนพระเครื่องต่างๆ ก็ใช้แนวคิดวิธีนี้เช่นกัน
  1. อักขระภาษาขอม  ผู้ที่ศึกษาภาษาขอมถึงขั้นแตกฉาน  จะทราบ คำว่า บ  จะไม่มี  เช่น คำว่า  บวร เขียนอักขระขอมย่อเป็น   ป
  2. บวร (บอ, วอน)  ความหมายของราชาศัพท์ใช้นำหน้าคำนามเกี่ยวกับ วังหน้า
  3. วงศานุวงศ์  (วง, สา, นุ, วง)  จะเขียนอักขระขอมย่อเป็น ว
  4. ธเรศ (ทะ, เรด)  ความหมาย  ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน, พระเจ้าแผ่นดิน 
  5. ธเรศ  อักขระเขียนย่อเป็น เรศ
ดังนั้นคำว่า
 
 ปวเรศ  เท่ากับ  บวร + วงศานุวงศ์  +  ธเรศ  ซึ่งมีความหมาย แปลว่า   ญาติฝ่ายวังหน้าของพระเจ้าแผ่นดิน   
 
พระกริ่งปวเรศ  ที่ถูกต้อง 
  • ไม่ได้หมายถึงผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้สร้าง  
  • แต่หมายถึง พระกริ่งที่สร้างโดย ญาติฝ่ายวังหน้าของพระเจ้าแผ่นดิน  
  • ในวงการพระเครื่องสายพระกริ่งปวเรศ  ผู้คนทั้งหมดกลับเข้าใจผิดเป็นพระกริ่งที่  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านสร้างแต่เพียงผู้เดียว  อันเนื่องมาจากชื่อของท่านมีคำว่า ปวเรศ ตรงกับชื่อที่เห็นในองค์พระกริ่งปวเรศ
 
คำว่า โต  มีที่มาที่ไปอย่างไร?  หมายถึงอะไร?
---พระเครื่องฯที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 
***พบเห็นประโยคคำว่า  "โต  สร้างถวาย รัชกาลที่ 4"
บางองค์ จะ
******พบประโยคคำว่า "โต  สร้างถวาย รัชกาลที่ 5"
คำว่า "โต"  เป็นคำย่อชื่อของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือ สมเด็จโต ที่เราๆท่านๆรู้จักกันดีนั้นเอง
 
 ดังนั้น พระที่มีชื่อ โต  เขียนไว้จึงเป็นพระเครื่องของสมเด็จฯโต ท่านสร้างถวาย ร.4 และ ร.5
 
คำว่า   "ปวเรศ" จากการค้นคว้า  พบข้อมูลที่แปลความหมายได้อีกหนึ่งความหมาย ดังนี้
 
“ช่างสิบหมู่” ช่างสิบหมู่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นจำนวนสิบ แต่สิบตัวนี้เป็นภาษาบาลีความเดิมเขียนว่า สิปปะ และหดไปเหลือ ป. ตัวเดียว
 
ช่างสิปปะตรงกับในสันสกฤตแปลว่า “ศิลปะ” เพราะในภาษาสันสกฤตใช้ตัว ศ. ศิลปะกับสิปปะในบาลีจึงมีความหมายตรงกัน ช่างสิบหมู่คือช่างงานศิลปะ
 
ดังนั้น 
ป เท่ากับ “ช่างสิบหมู่” 
ว  เท่ากับใช้เป็นตัวควบกล้ำ  หรือ อาจจะหมายถึง  ตัวย่อของคำว่า “วัง”
เรศ เท่ากับ ตัวย่อของคำว่า  ธเรศ  ซึ่งหมายถึง  พระเจ้าแผ่นดิน
 
คำว่า “ปวเรศ”  จึงอาจกล่าวได้อีกความหมายหนึ่ง คือ ช่างสิบหมู่ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้สร้าง  ซึ่งก็ไม่ผิดเนื่องจาก  พระเครื่อง และพระบูชาทั้งหมดที่สร้างจากวังล้วนเป็นฝีมือของช่างสิบหมู่ทั้งหมดทั้งสิ้น
 
โดย Putanarinton - เมื่อ 13 กันยายน 2557
  ชอบ 1  /  เข้าชม 1633666  /  ความคิดเห็น 3
ดูข้อมูลต่อ

 แสดงความคิดเห็น


(รองรับไฟล์รูปภาพนามสกุล .jpg, .png, .gif)